MEA ปรับเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้า 2.20 บาทต่อหน่วย โครงการ Solar ภาคประชาชน ตามนโยบาย กพช. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติปรับเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจาก โครงการ Solar ภาคประชาชน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าอยู่ที่ 2.20 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลาสัญญา 10 ปี ในเขตพื้นที่ให้บริการ คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยจากเดิมที่รับซื้อในอัตราที่ 1.68 บาท/kWh เป้าหมายการรับซื้อ 50 MW ระยะเวลา 10 ปี โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564
อินเวอร์เตอร์ (Inverter): อุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์หรือแหล่งกำเนิดไฟฟ้า กระแสตรงอื่นๆไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้งานต่อโดยการไฟฟ้าได้
อินเวอร์เตอร์จะต้องผ่านการทดสอบโดยหน่วยงานหรือสถาบันทดสอบที่เป็นกลาง และได้รับการรับรอง ตามมาตรฐานห้องทดสอบจาก ISO/IEC ๑๗๐๒๕ (สำหรับอินเวอร์เตอร์) หรือได้รับการตรวจสอบและยอมรับ จากการไฟฟ้านครหลวง
เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แต่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราใช้กันทั่วไปนั้นเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีเครื่องแปลงไฟ หรือเรียกว่า Inverter (อินเวอร์เตอร์) มาช่วยแปลงพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์มาเป็นไฟฟ้าที่สามารถใช้งานในบ้านเรือนได้
ดังนั้นในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์จึงถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้
สำหรับที่บริษัท เอซ ซิสเต็ม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด เราใช้อุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ยี่ห้อ Huawei ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดสำหรับอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในระบบผลิตไฟฟ้าประเภทเชื่อมต่อกับโครงข่ายของการไฟฟ้านครหลวงเรียบร้อยแล้วค่ะ
และที่สำคัญอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ยี่ห้อ Huawei ที่บริษัท เอซ ซิสเต็ม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด เลือกใช้ ยังมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่โดยมี Application ที่ผู้ใช้สามารถดูการผลิตไฟฟ้าแบบ Real Time ได้ด้วย
โซลาร์เซลล์ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
- โซลาร์เซลล์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำซิลิคอน (Silicon Semiconductor) และ
- โซลาร์เซลล์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำแบบผสม (Compound Semiconductor)
ทว่าประเภทที่มักจะพบเห็นกันทั่วไปและนิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ โซลาร์เซลล์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำซิลิคอน ซึ่งก็จะมีแบ่งแยกย่อยเพิ่มเติมตามลักษณะได้อีก 2 แบบ คือ แบบที่อยู่ในรูปผลึก (Crystal) และแบบที่ไม่อยู่ในรูปผลึก (Amorphous) โดยโซลาร์เซลล์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำซิลิคอนที่คนไทยนิยมใช้มีทั้งหมด 3 ชนิดหลัก ดังนี้
1.1 โซลาร์เซลล์แบบผลึกเดี่ยว
โซลาร์เซลล์แบบผลึกเดี่ยว โมโนคริสตัลไลน์ หรือซิงเกิลคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline/Single Crystalline) มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางเรียงกันในแนวราบคล้ายการปูกระเบื้อง โดยมีเส้นสีเงินทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นโซลาร์เซลล์ชนิดแรกที่ถูกสร้างขึ้น แม้จะมีราคาแพงแต่ก็มีประสิทธิภาพสูงกว่าแผงโซลาร์เซลล์ชนิดอื่น
1.2 โซลาร์เซลล์แบบผลึกรวม
โซลาร์เซลล์แบบผลึกรวม โพลีคริสตัลไลน์ หรือมัลติคริสตัลไลน์ (Poly Crystalline/Multi Crystalline) มีลักษณะเป็นสีน้ำเงิน พร้อมคริสตัลสีรุ้ง เป็นโซลาร์เซลล์ที่สร้างขึ้นต่อยอดจากโซลาร์เซลล์แบบผลึกเดี่ยว
1.3 โซลาร์เซลล์แบบฟิล์มบาง
โซลาร์เซลล์แบบฟิล์มบางซิลิคอน (Thin film) หรืออะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous) มีลักษณะเป็นสีดำ อาจจะมีเส้นราง ๆ เป็นบางครั้ง เป็นโซลาร์เซลล์ที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไร ส่วนมากจะใช้ในฟาร์มขนาดใหญ่ หรือไม่ก็นำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กต่าง ๆ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา
ส่วนโซลาร์เซลล์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำแบบผสม หรือทำมาจากสารประกอบอื่น ๆ (Compound Semiconductor) เป็นโซลาร์เซลล์ที่ไม่ค่อยนิยมใช้ในประเทศไทย รวมถึงพื้นที่ต่าง ๆ บนโลกเท่าไร เนื่องจากโซลาร์เซลล์ประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูงมาก อย่างน้อยก็ 25% ขึ้นไป จึงทำให้ราคาแพงเกินเอื้อม ฉะนั้นการใช้งานหลักจึงเป็นบนอวกาศ ดาวเทียม และระบบรวมแสง อีกทั้งยังเหมาะกับพื้นที่ที่มีขนาดจำกัดและมีปัญหาเรื่องการรองรับน้ำหนักด้วย
สำหรับที่บริษัท เอซ ซิสเต็ม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด เราใช้แผงโซลาร์เซลล์ยี่ห้อ TRINA ในการติดตั้งให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นแผงโซลาร์เซลล์คุณภาพระดับ Tier 1 มีทั้งแบบ Mono Crystalline และ Poly Crystalline แผงโซลาร์เซลล์ยี่ห้อ TRINA มีคุณภาพที่ผ่านการทดสอบการใช้งานจริงมาแล้ว มีความปลอดภัยสูงด้วยคุณสมบัติการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ และมีกำหนดการทดสอบภายในของ Trina เองที่ละเอียดกว่าผู้ออกใบรับรอง เพราะฉะนั้นลูกค้าสามารถมั่นใจได้เลยค่ะว่า อุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์ที่เรานำมาติดตั้งให้กับลูกค้านั้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพสูงแน่นอนค่ะ
Duis mollis, est non commodo luctus, nisi erat porttitor ligula, eget lacinia odio sem nec elit. Morbi leo risus, porta ac consectetur ac, vestibu lum at eros. Nulla vitae elit libero, a pharetra augue.
Duis mollis, est non commodo luctus, nisi erat porttitor ligula, eget lacinia odio sem nec elit. Morbi leo risus, porta ac consectetur ac, vestibu lum at eros. Nulla vitae elit libero, a pharetra augue.